ประวัติดนตรีตะวันตก


ยุคสมัยของดนตรีตะวันตก







ดนตรีตะวันตกสามารถแบ่งช่วงเวลาของแต่ละยุคสมัย ซึ่งอาจไม่ได้มีช่วงเวลาที่แน่นอน โดยส่วนใหญ่จะแบ่งตามคริสต์ศักราช แต่ละยุคจะมีลักษณะดนตรีที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพสังคม ค่านิยมและสถานการณ์ต่างๆในยุคสมัยนั้นๆ ซึ่สามารถแบ่งออกเป็น 6 ยุคได้ดังนี้


1. ยุคกลาง (ค.ศ.400-1400)

ในช่วงสมัยของยุคกลางนั้นให้ความสำคัญกับศาสนามาก ศาสนาเป็นศูนย์รวมของทุกสิ่งในสังคม การศึกษา การเมืองการปกครอง ศิลปะ และดนตรี ลักษณะของเพลงในยุคสมัยนี้จึงนิยมนำมาประกอบพิธีทางศาสนา  Pope gregory the great คือผู้นำทางศาสนาและเป็นผู้รวบรวมบทสวดต่างๆให้เป็นหมวดหมู่
ในยุคสมัยนั้นนำบทสวดมาใส่ทำนองเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนาเรียกว่า Chant (แชนท์) ผลงานที่โดดเด่นคือ gregorian chant





ลักษณะของเพลงยุคกลาง
ลักษณะของเพลงในยุคนี้จะนิยมการประพันธ์แบบ Monophony คือ การประพันธ์เพลงแนวเดียว ไม่มีเสียงประสานสอดแทรก ไม่มีการกำหนดจังหวะ

วิวัฒนาการของดนตรีในยุคกลาง

ช่วงแรกนั้นนิยมแบบMonophony ต่อมาในศตวรรษที่ 9 มีการพัฒนารูปแบบของเพลงโดยการเพิ่มแนวเสียงขึ้น 1 แนว เป็นการร้องแบบคู่ขนานพร้อมกับแนวทำนองหลัก
ต่อมาปลายยุคกลางมีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนา เป็นการเล่นดนตรีที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาเรียกว่า เพลงคฤหัสถ์ เพื่อความบันเทิงเป็นการเล่นดนตรีประกอบการแสดงละคร กายกรรม เล่าเรื่องการต่อสู้ หรือนิทาน

ประเภทเพลงที่ปรากฏในยุคกลาง
สามารถแบ่งออกได้ 2 สมัยคือ สมัยศิลป์เก่า และศิลป์ใหม่

Organum คือลักษณะการร้องประสานเสียงสองแนว โดยใช้ระยะขั้นคู่เสียงคู่ 4 เป็นหลัก เคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ต่อมาเริ่มไม่จัดทิศทางและท้าบที่สุด เสียงแนวที่ 2 (เสียงต่ำ)ร้องเสียงยาว และแนวหลักร้อง 5-10 ตัว

Motet(ศิลป์เก่า) คือ เป็นการขับร้องประสานเสียงที่มีทั้งหมด 3 แนวเสียงโดยนำทำนองเพลงจาก chant มาเป็นแนวเบส อีก2 แนวเสียงเป็นแนวทำนองที่มีจังหวะเร็วกว่าแนวเบส

ตัวอย่าง..



Motet (ศิลป์ใหม่)  มีการเปลี่ยนแปลงคือจังหวะของแนวเสียงต่ำสั้นลง ไม่เหมือนกับสมัยศิลป์เก่า

Madrigal คือ เพลงคฤหัสถ์ ปรากฏในสมัยศิลป์ใหม่




คีตกวีในยุคกลาง

1. Leonin
2. Perotin หรือ Perotinus magnus
3. Jacapo da bologna
4. Francesco Landini
5. Guillaume de machaut


2. ยุคเรเนซองส์ (ค.ศ.1400-1600)

ยุคเรเนซองส์หรือยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ เป็นยุคที่คนสมัยนั้นหันมาให้ความสำคัญด้านศิลปะวิทยาการ มีการประดิษฐ์ และสร้างารรค์ผลวานมากมาย

สาเหตุของการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ

1. การขยายตัวทางการค้า : เนื่องจากการขยายตัวทางการค้ามีการแลกเปลี่ยน ค้าขายสินค้ามากขึ้น ทำให้คนชนชั้นกลางมีฐานะ มีความมั่งคั่งมากขึ้น เลยหันมาสนับสนุนศิลปะและวิทยาการมากขึ้น

2. ความเจริญทางเศรษฐกิจ : ความเจริญทางเศรษฐกิจทำให้หน่วยงานรัฐและองค์กรต่างๆหันมาสนใจ สนับสนุนการสร้างสรรค์ความรู้เพื่อการบริหารที่ดี ซึ่งศาสนาไม่สามารถตอบโจทย์ขอ้นี้ได้

3. ทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปของชาวยุโรปสมัยกลาง : เมื่อมีความเจริญเข้ามาทำให้ทัศนคติของชาวยุโรปเปลี่ยนไป จากที่เคยยึดศาสนาเป็นศูนย์กลางซึ่งสอนเรื่องความสุขในโลกหน้า ก็เปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับความสุขในปัจจุบันนั่นเอง

4. การล่มสลายของจักรวรรดิไบเซนไทน์

ในสมัยนี้ดนตรีในศาสนายังคงมีความสำคัญเช่นเดิม เพลงคฤหัสถ์ที่ให้ความสนุกสนานมีบทบาทมากขึ้น การประสานเสียงได้รับการพัฒนาให้มีความกลมกลืนมากขึ้น เพลงในยุคนี้แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1. Imitative Polyphony : เพลงที่มีหลายแนว แต่ละแนวจะเริ่ไม่พร้อมกัน
2. Homophony : เพลงที่มีหลายแนว เริ่มพร้อมกัน มีแนวเสียงนึงทที่เด่นและมีแนวเสียงอื่นๆเป็นส่วนประกอบ


เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงของยุคนี้ คือ


1. Lute 

2. Vielle




3. Organ


4. Harpsichord 

5. Recorder

6. Viole 



คีตกวีในยุคเรเนซองส์


1. Guillaume dufay

2. Josquin de prez


3.William byrd


4.Johannes Ockeghem




Sing joyfully - William Byrd










3. ยุคสมัยบาโรค (ค.ศ.1600-1750)

ในยุคสมัยบาโรค คีตกวีส่วนมากนิยมประพันธ์เลิกนิมยมการประพันธ์สไตล์ Polyphony และหันมาสนใจแบบ Monody คือในบทเพลงที่มีแนวทำนองขับร้องแนวเดียว ดำเนินทำนองและมีแนวสำคัญที่เรียกเป็นภาษาอิตาเลี่ยนว่า Basso continuo ทำหน้าที่คลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบจึงทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา
แต่ในยุคสมัยนี้ก็ยังไม่ได้เลิกประพันธ์เพลงแบบ polyphony ซะทีเดียว การประพันธ์แบบpolyphony ยังปรากฏอยู่ใน Fugue ,organ corale ,cantata 

เพลงแบบ Homophony ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แบบ ผู้ที่มีชื่อเสียงในฐานะผู้บุกเบิกการประพันธ์เพลงแบบบรรเลงในยุคนี้คือ Vivaldi ส่วนโครงสร้างเพลงอื่นๆก็มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีสีสันเสียงมากขึ้น

ลักษณะของเพลงยุคบาโรค

1. การทำให้เกิดความขัดกัน (Contrast) ดัง-เบา เร็ว-ช้า บรรเลงเดี่ยว-บรรเลงร่วมกัน พบได้ใน Trio sonata ,Concerto grosso 
2. คีตกวีส่วนใหญ่ไม่ได้เขียนเพลงบรรเลงอย่างครบสมบูรณ์เพราะว่าต้องการให้ผู้บรรเลงได้แสดงศักยภาพในการเล่นโดยใช้ไหวพริบปฏิภานหรือการ Improvisation ในแนวของตนเอง


คีตกวีในยุคบาโรค

1. Johann Sebastian Bach (J.S Bach)



2.George Federic Handel

3. Antonio Vivaldi

4.Johann Pachebel

Four seasons (winter) -Vivaldi



4. ยุคสมัยคลาสสิค (1750-1820)

ในสมัยนี้ดนตรีเริ่มแพร่หลายสู่ประชาชนมากขึ้น สถาบันศาสนาจึงไม่ใช่ศูนย์กลางของดนตรีอีกต่อไป ยุคนี้ถือเป็นยุคของดนตรีบริสุทธิ์ เพลงในสมัยนี้จึงเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเพื่อการฟังโดยเฉพาะ ไม่ใช่การประพันธ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา ส่วนใหญ่มักเป็นเพลงบรรเลง ใช้Polophony น้อยลง ใช้ Homophony มากขึ้น มีกฏเกณฑ์ในการแต่งเพลงที่เคร่งครัด มีการกำหนดจังหวะที่สม่ำเสมอกัน การเขียนทำนองเพลงมีการพัฒนาให้มีหลักเกณฑ์และความสมดุล
 เพลงที่นิยมมากที่สุดคือ Symphony 

ลักษณะของเพลงในยุคคลาสสิค

1.ลักษณะเปลี่ยนไปจากยุคบาโรคโดยสิ้นเชิงคอืไม่นิยมการประสานเสียง และหันมานิยมการเน้นทำนองหลักโดยมีแนวเสียงอื่นประสานเพื่อความไพเราะมากยิ่งขึ้น

2. มีการประสานเสียงแบบ Basso continuo 

3. ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการเว้นว่างเพื่อการ improvisation  

4. ศูนย์การของดนตรียุคคลาสสิคตอนนั้นคือเมือง แมนฮีม และกรุงเวียนนา 


คีตกวีในยุคคลาสสิค


1. Wolfgang Amadeus Mozart 

2. Ludwig Van Beethoven

3. Franz Joseph Haydn 


Fur elise - Mozart




5. ยุคสมัยโรแมนติก (1820-1900)

ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของดนตรี มีการแสดงคอนเสิร์ตต่อสาธารณชนอย่างเปิดเผย นักดนตรีมีโอกาสแสดงอารมณ์ในการบรรเลงมากขึ้น ดนตรีในยุคนี้จึงไม่ค่อยได้คำนึงถึงรูปแบบและความสมดุลแต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดอารมณ์ ความรัก ความโกรธ ความเศร้า หรือความกลัว นอกจากนี้ยังนิยมเขียนเพลงเพื่อบรรยายธรรมชาติ เรื่องความฝันของตนเอง เพลงที่มีการเขียนเพื่อบรรยายธรรมชาติเรียกว่าดนตรีพรรณา (Descriptive music)  

ความแตกต่างระหว่างดนตรีคลาสสิคและดนตรีโรแมนติก

คลาสสิค                                                 โรแมนติก

เน้นรูปแบบที่แน่นอน                               เน้นเนื้อหา
เน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน                เน้นอารมณ์
มีแนวความคิดแบบ ภววิสัย                      มีแนวความคิดแบบอัตวิสัย

ลักษณะของดนตรียุคโรแมนติก

1. คีตกวีมีีแนวความคิดเป็นของตัวเอง แสดงออกถึงความรู้สึกอย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องทำตามแบบแผน
2. อารมณ์และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรี
  •    ทำนองเน้นความรู้สึกและอารมณ์ ความยาวของประโยคเปลี่ยนแปลงได้ไม่จำกัด
  •    การประสานเสียงใช้คอร์ด 7,9 
  •    Chromatic chord มีบทบาทสำคัญ
  •    ความดังเบาชัดเจน



คีตกวีในยุคโรแมนติก

1. Federic Chopin


2.Robert Schumann

3. Johannes Brahms


4. Felix Mandelssohn


5. Piotr Ilyich Tchaikovsky


Polonaise in A flat major - Chopin





6. ยุคศตวรรษที่ 20 (หลังจาก1900)

ในยุคสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนาหลายๆด้าน ทำให้รูปแบบของดนตรีเปลี่ยนไป คีตกวีก็พยายามหาสิ่งใหม่ๆและทฤษฎีใหม่ๆทำให้เกิดดนตรีหลายรูปแบบ 

ลักษณะของดนตรียุคศตวรรษที่ 20

1. เนื่องจากมีการพัมนาและเเปลี่ยนแปลง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่วนประกอบของดนตรีจึงซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังยึดรูปแบบของดนตรีคลาสสิคอยู่ 

2. เพลงในยุคสมัยนี้ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี Electronic ที่มีเสียงต่างออกไปจากเตรื่องดนตรี Acoustic


คีตกวีในยุคศตวรรษที่ 20

1.Bela Bartok

2. Igor Stravinsky

3. Arnold Schoenberg

4.Dmitri Shostakovich



Violin concert in D - Stravinsky











2 ความคิดเห็น: