ประเภทเพลง




ประเภทดนตรีในปัจจุบัน


POP
ดนตรีป็อป หรือ เพลงป็อป เป็นประเภทเพลงที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพลงป็อปมีลักษณะที่ฟังง่าย โดยแรกเริ่มนั้นมีจังหวะเป็นเหมือนการเต้นรำช้าๆ มีความดิสโก้ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆจนเป็นเพลงป็อปในปัจจุบัน 

จุดเด่น : ฟังง่าย ติดหู


How deep is your love





ROCK


ร็อก (Rock) หรือ ร็อกแอนด์โรล (Rock”n Roll)  เริ่อมแรกเป็นดนตรีในลักษณะร็อคแอนด์โรล โดยมีไอคอนประจำเพลงยุคนี้คือ เอลวิส เพรสลี่ย์ ซึ่งในช่วงศตววรรรษที่ 60 นั้นดนตรีแนวร็อคแอนด์โรลได้รับความนิยมมาก
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง ร็อคแอนด์โรลได้รับความนิยมน้อยลงและเพลงร็อคก็ได้มีการพัฒนามากขึ้นจนมาเป็นเพลงร็อคที่มีองค์ประกอบเสียงหลักๆคือ กลองชุด กีต้าร์ เบส เน้นความหนักเน่น จากนั้นก็มีการพัฒนาดนตรีร็อคออกมาเรื่อยๆ มีการแตกแขนงออกหลายประเภท เช่น เฮฟวี่เมทัล, เดธเมทัล, อัลเทอร์เนทีฟ เป็นต้น 






เพลง Black in black






JAZZ


แจ๊ส เป็นดนตรีที่พัฒนามาจากคนผิวสีในสหรัฐอเมริกาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีลักษณะพิเศษคือ การลัดจังหวะ การสวิง การตอบโต้ทางดนตรีและการเล่นสด ถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของอเมริกา 
หนึ่งในจุดเด่นของดนตรีแจ๊สคือ คีตปฏิภาณ คือการทำนองเพลงขึ้นมาใหม่ๆสดๆโดยไม่ได้เตรียมล่วงหน้า หรือการเล่นโซโล่แบบสด 

เพลง fly me to the moon





เพลง yes sir ! that's my baby







BLUES


บลูส์  เป็นรูปแบบของดนตรีประเภทหนึ่ง เกิดจากการอพยพของของผิวสีที่อพยพเข้ามาในสหนัฐอเมริกา สถานภาพการใช้ชีวิตของคนผิวสีค่อนข้างคับแค้น มีความลำบาก เป็นเสมือนทาสในการทำงานในประเทศ เรื่องราวความคับแค้นเหล่านี้ถูกถ่ายทอดเป็นบทเพลง เนื้อหาของเพลงส่วนใหญ่เป็นการระบายความในใจที่ถูกกดขี่จากคนผิวขาวส่วนใหญ่ มีการสวดอ้อนวอนประเจ้า ท่วงทำนองของเพลงค่อนข้างเศร้า ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ของเพลงบลูส์ ท่วงทำนองฟังดูแปลกหูเนื่องจากความรู้ด้านดนตรีผิดเพี้ยนไปจากเดิม เครื่องดนตรีไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดคอร์ดที่ผิดแปลกไปจากเดิม แต่ก็สร้างความแปลกใหม่แต่ก็ยังเป็นเอกลักษณ์ของดนตรีประเภทนี้

ลักษณะสำคัญของเพลงบลูส์คือ การใช้เสียงร้อง หรือเสียงของเครื่องดนตรีที่เพี้ยนจากเสียงในบันได
เสียง ซึ่งเรียกกันว่า เบนท์ หรือ บลูโน้ต และการสไลด์เสียง ปกติเพลงบลูส์เป็นเพลงในอัตราจังหวะ 4/4 ใน 1 วรรคจะมี 12 ห้องเพลง การร้องแต่ละวรรคจะมีการอิมโพรไวเซชั่นไปจากทำนองเดิม เช่นเดียวกับการบรรเลงโดยเครื่องดนตรี
ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความเจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะอื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น



เพลง The thrill is gone

HIP-HOP

ฮิปฮอป  ไม่เป็นเพียงประเภทของดนตรีออย่างเดียว แต่ยังถูกยกระดับให้เป็นวัฒนธรรมอีกด้วย เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ได้รับความนิดยมมาก และมีหลายๆอย่างที่เป็นสัญลักษณ์ของฮอิปฮอป ไม่ว่าจะเป็น การแต่งตัว ลักษณะการพูด ศิลปะการพ่นกำแพง การเต้น ล้วนสอดคล้องกับเพลงฮิปฮอป

วัฒนธรรมฮิปฮอปจะเกิดขึ้นได้โดยต้องมีปัจจัย 4 อย่าง คือ
  • กราฟฟิตี (graffiti) เป็นการเพนท์ พ่น กำแพง ความหมายเพื่อการเชื้อเชิญ แขก หรือสาว ๆ ในละแวกนั้นว่า งานปาร์ตี้เริ่มที่ไหนเมื่อไหร่
  • ดีเจ (DJ) ซึ่งมาจากคำว่า disc jockey ทำหน้าที่เป็นผู้เปิดแผ่นเพลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในงานปาร์ตี้
  • บี-บอย (B-Boy) - เป็นกลุ่มคนที่มาเต้นในช่วงระหว่างที่ดีเจกำลังเซ็ทแผ่นเพลง เพื่อเป็นการคั่นเวลา ซึ่งลักษณะการเต้น เราจะเรียกว่าเบรกแดนซ์(break dance)
  • เอ็มซี (MC) เป็นแร็ปเปอร์ซึ่งหลังจากที่ ดีเจ เซ็ทแผ่นเรียบร้อยแล้ว MC จะทำหน้าที่ดำเนินงาน และงานปาร์ตี้ก็ได้เริ่มขึ้น


พลง Stop trying to be god




เพลง  lose yourself


ALTERNATIVES


อัลเทอร์เนทีฟ แปลตรงตัวคือ ทางเลือก กล่าวคือเป็นแนวเพลงที่ไม่มีกรอบ
กฏเกณฑ์ เป็นการผสมผสานแนวเพลงหลายๆแนวรวมกัน




เพลง ก่อน 





เพลง Day 1


R&B


ริทึมแอนด์บลูส์ เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมโดยมีการผสมผสานระหว่าง แจ๊ส กอสเปล และบลูส์ โดยเริ่มจากศิลปินแอฟริกัน-อเมริกัน

ในปีช่วงยุค 1970 ริทึมแอนด์บลูส์ ได้ครอบคลุมนิยามกับแนว โซล (Soul) และ ฟังก์ (Funk) ในปัจจุบันนิยมเรียกอาร์แอนด์บี มากกว่าคำว่า ริทึมแอนด์บลูส์
ริทึมแอนด์บลูส์ มีที่มาก่อน ร็อก แอนด์ โรลล์ ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงแนวแจ๊ส,จัมพ์บลูส์ และ แบล็กกอสเปล มีนักดนตรีแจ๊สหลายคนที่บันทึกเสียงทั้งเพลงแจ๊ส และ ริทึมแอนด์บลูส์ เช่นวงสวิงแบนด์ของ Jay McShann, Tiny Bradshaw และ Johnny Otis เป็นต้น และโดยส่วนมาก นักดนตรีในสตูดิโอที่ทำเพลงอาร์แอนด์บี จะเป็นนักดนตรีแจ๊ส

เพลง (you make me feel like) a natural                  woman

 เพลง All of me 


POP & ROCK


พลงป็อป ร็อค เป็นการผสมผสานระหว่างเพลง ป็อปและเพลง ร็อค อาจกล่าวได้ว่าเพลงประเภทนี้เป็นเพลงป็อปที่มีเสียงหนักเหมือนร็อค หรือเป็นเพลงร็อคที่มีเนื้อหาที่ติดหูสามารถเข้าถึงเพลงได้ง่ายซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเพลง ป็อป 



ในเมืองไทยมีวงดนตรีชื่อดังหลายวง
ที่ทำเพลงออกมาเป็นเพลงแนว ป็อปร็อค
 เช่น Body slam, Potato เป็นต้น




เพลง The man who can't be moved



ประเภทดนตรีคลาสสิค


บทเพลงที่มีการประพันธ์ขึ้นอย่างมีแบบแผนในดนตรีตะวันตกนั้นเรียกว่า "ดนตรีคลาสสิค" หมายถึงดนตรีที่อาศัยเค้าโครงของดนตรีที่วิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยองค์ประกอบของดนตรีที่สูงสุดของแนวทำนอง การประสานเสียง สีสันของเครื่องดนตรี รูปแบบโครงสร้าง และการถ่ายทอดอารมณ์ซึ่งคีตกวีประพันธ์ขึ้นด้วยความประณีตสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภท ดังนี้

1. ประเภทเพลงบรรเลง
1.1คอนแชร์โต (concerto) คือ เป็นการประพันธ์เพลงรูปแบบหนึ่ง ส่วนมากมีสามท่อน (three-parts) ในอัตราจังหวะเร็ว-ช้า-เร็ว ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ต้องมีการเล่นประชันกัน โดยอาจจะเป็นการเดี่ยวเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรี หรือกลุ่มเครื่องดนตรีประชันกับวงดนตรีก็ได้

คอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว (concerto grosso)
เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างกลุ่มเครื่องดนตรีกับวงดุริยางค์ เรียกกลุ่มเดี่ยวว่า คอนแชร์ติโน (concertino) เรียกกลุ่มใหญ่หรือวงดนตรีทั้งวงว่า ริปิเอโน (ripieno) กลุ่มเดี่ยวมักประกอบด้วยนักดนตรี 2 ถึง 5 คน มีแนวเดี่ยวร่วมกันด้วยลีลาที่เด่นกว่าวง ลักษณะที่พบในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยวมักมีรูปแบบที่ไม่แน่นอน พบทั้งแบบสองตอน (two-part)และสามตอน (three-part) แต่ที่นิยมใช้ในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว ก็คือ กระบวนการที่เรียกว่า ริตอร์เนลโล (ritornello) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรอนโด
คอนแชร์โตเดี่ยว (solo concerto)
เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างเครื่องดนตรีเดี่ยวกับวงดุริยางค์ ประกอบด้วย 3 ท่อน ในอัตราเร็ว-ช้า-เร็ว ลักษณะในแต่ละท่อนมีความชัดเจนมากกว่าในคอนแชร์โตกลุ่มเดี่ยว เครื่องดนตรีที่นิยมในการเดี่ยว ได้แก่ เปียโน ไวโอลิน เชลโล่
คอนแชร์โตสำหรับวงดุริยางค์ (orchestral concerto)

เป็นบทเพลงที่มีการประชันกันระหว่างนักดนตรีทุกคน หรือเกือบทุกคนในวงดุริยางค์ ไม่ได้มีการแยกกลุ่มที่เด่นชัด คอนแชร์โตชนิดนี้เกิดขึ้นเพราะความสามารถของนักดนตรีในวงอยู่ในขั้นที่แสดงเดี่ยวได้ทุกคน นักแต่งเพลงจึงให้ทุกแนวเล่นด้วยเทคนิคยาก ๆ ในระดับเดี่ยว แต่จะไม่มีนักดนตรีคนใดคนหนึ่งเด่นกว่าคนอื่นในวง ลักษณะค่อนข้างอิสระ ไม่ตายตัว พบบทเพลงประเภทนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เท่านั้น


Solo concerto 

-Concerto in D major, Op.35 - Tchaikovsky-



1.2 ซิมโฟนี (Symphony) เป็นดนตรีประเภทหนึ่ง เป็นดนตรีประกอบเพิ่มเติมในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ซึ่งต้องบรรเลงเกือบตลอดเวลาสำหรับวงดนตรี ซิมโฟนีมักจะมีเครื่องดนตรีอย่างน้อยหนึ่งชนิดมาประกอบด้วยตามหลักการโซนาตา วงดนตรีที่บรรเลงดนตรีแบบซิมโฟนีนั้นเรียกว่า วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ซึ่งในวงจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีครบทั้งสี่ชนิด
Symphony ประกอบไปด้วย 4 กระบวน หรือต้องมี 4 ทำนองใน 1 บทเพลง
กระบวน 1  ต้องเป็นเพลงเร็ว ใช้แบบแผนการประพันธุ์แบบ Sonata
กระบวน 2  ต้องเป็นเพลงช้า ใช้การประพันธุ์แบบเพลง 2 ตอน หรือ 3 ตอน
กระบวน 3  ต้องเป็นเพลงแบบ Minuetto หรือ เพลง 3 จังหวะ โดยส่วนมากจะใช้ทำนองเร็ว แต่ Beethoven มักจะประพันธุ์ท่อนที่ 3 ของ Symphony เป็นแบบScherzo
กระบวน 4  ต้องเป็นเพลงเร็ว มักจะใช้แบบแผน Sonata

เพลงประเภท symphony กระบวนที่ 4

Dvorak - symphony no.9 4th movement





1.3โซนาตา ( Sonata ) เป็นประเภทของบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเครื่องดนตรี เช่น Piano sonata ก็คือบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวเปียโน หรือ Violin Sonata ก็เป็นบทเพลงที่ใช้สำหรับเดี่ยวไวโอลิน อนึ่ง เพลงเดี่ยวสำหรับเครื่องดนตรีที่ไม่ใช่เปียโนมักจะมีเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบ (Accompaniment) ซึ่งมักจะเป็นเปียโน
เป็นบทเพลงประเภทที่แสดงให้เห็นการเดี่ยวเครื่องดนตรี ไม่เกิน 2 ชนิด  มีทั้งสิ้น 3 กระบวน
กระบวน 1 ใช้แบบแผน Sonata
กระบวน 2 ใช้แบบแผนเพลง 2-3 ตอน
กระบวน 3 ใช้แบบแผน Sonata
โดยถ้าหากเรานำเพลงทั้ง 2 ประเภทนี้มารวมเข้าด้วยกันแล้ว เราก็จะได้เพลงประเภท Concerto

เพลง sonata

Moonlight Sonata - Beethoven



1.4 โอเวอร์เชอร์ (overture) บทเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีล้วนๆใช้เป็นเพลงนำก่อนจะมีการแสดงโอเปร่า ซึ่งในภาษาไทยเรียกว่า เพลงโหมโรง เพลงโอเวอร์เชอรือาจเป็นเพลงที่แสดงถึงบรรยากาศหรืออารมณ์ของโอเปราที่จะแสดง กล่าวคือ ถ้าโอเปราเป็นเรื่องเศร้าโอเวอร์เชอร์จะมีทำนองเศร้า เพลงโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นเพลงสั้นๆ มีความยาวประมาน 4-5 นาที โดยทั่วไปโอเวอร์เชอร์มักจะเป็นการรวมทำนองหลักของโอเปราในฉากต่างๆ

Rossini: William Tell Overture: Final


2. ประเภทเพลงร้อง
2.1 แชนท์ (chants) 
เป็นเพลงสวดของศาสนาคริสต์ในศาสนกิจต่าง ๆ ในสมัยต้นคริสต์ศตวรรษ เป็นการขับร้องล้วนไม่มีดนตรีประกอบ ผู้ร้องต้องใช้เสียงแสดงออกถึงความปิติ ความเลื่อมใส ศรัทธา ในองค์พระผู้เป็นเจ้า เพื่อสรรเสริญสดุดี เพื่อขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้า
ลักษณะของเพลงแชนท์มีทั้งการใช้คำร้อง 1 พยางค์ต่อเสียงหนึ่งหรือ 2 เสียง หรือใช้คำร้อง1 พยางค์ต่อเสียง สองถึงสี่เสียง และที่มีเสียงแต่ละพยางค์เอื้อนยาว ในระยะแรกที่ศาสนาคริสต์ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาในภาคตะวันออกของทวีปยุโรปภาษาที่ใช้ในบทสวดและใช้ขับร้องด้วยเป็นภาษากรีก ต่อมาศาสนาคริสต์ได้แพร่หลายมาทางทวีปยุโรปตอนกลางและทางทิศตะวันตก ในสมัยอาณาจักรโรมันผู้ร่ำรวยศิลปะและวัฒนธรรมเรืองอำนาจ ภาษาละตินจึงได้รับเลือกเป็นภาษาของศาสนาคริสต์ เป็นบทสวดและใช้ขับร้องตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 350 เป็นต้นมา
เพลงแชนท์ที่มีชื่อเสียงใช้กันมาจนปัจจุบันคือ เกรเกอเลียนแชนท์ (Gregorian Chant) ซึ่งเป็นเพลงแชนท์ทีพระสังฆราชเกรเกอเลียนมหาราช (Pope Gregory the Great) เป็นผู้รวบรวมแชนท์ที่มีใช้อยู่แล้วและแต่งเพิ่มเติมขึ้นอีกแล้วจัดลำดับบทเพลงสวดให้เป็นแบบฉบับ เป็นหลักปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่ค.ศ. 600 โดยมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน


2.2ออร์กานุ่ม (Organum)
เป็นบทเพลงศาสนาร้องประสานเสียงแบบโพลิโฟนิค(Polyphonic Style) ซึ่งเป็นการริเริ่มการประสานเสียงครั้งแรกในดนตรีตะวันตก คือ การใช้ทำนองเพลงสอดประสานในระหว่างทำนองเพลงด้วยกันเอง ทำให้เกิดเสียงประสานขึ้นการขับร้องประกอบด้วยแนวทำนองหลัก 2 แนว ผู้ร้องทั้ง 2 แนวจะขับร้องกันคนละทางแต่การร้องจะดำเนินไปในเวลาเดียวกันตั้งต้นจนจบ

Leonin: organum duplum


 2.3โมเต็ท (Motet) เป็นเพลงร้องทางศาสนา แต่เดิมไม่มีดนตรีประกอบและเนื้อร้องส่วนใหญ่เป็นภาษาละติน  เพลงโมเต็ทในยุคแรกเริ่มเป็นเพลงร้องที่มี 2 แนวเสียง และทั้ง 2 แนวเสียงมีคำร้องที่ไม่เหมือนกัน  แนวเสียงเดิมจะนำมาจากเพลงชานท์(Chant) ร้องในระดับเสียงต่ำ แนวเสียงที่เพิ่มเข้ามาใหม่พร้อมคำร้องที่เพิ่มเข้ามาใหม่ด้วย ถูกกำหนดให้ร้องด้วยระดับเสียงที่สูงกว่าแนวแรกและกระสวนจังหวะของทำนองใหม่จะเคลื่อนที่เร็วกว่ากระสวนจังหวะของทำนองเสียงต่ำ  เพลงโมเต็ทบางเพลงจะกำหนดให้ใช้เครื่องดนตรีช่วยบรรเลงแนวทำนองบนที่เป็นเสียงสูงด้วย
        คำว่า "Motet"  มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "Mot"  ซึ่งมีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Word"   ในทางดนตรี หมายถึงการเพิ่มคำร้องเข้าไปในแนวเสียงบนที่เพิ่มเข้ามาใหม่
        ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา เพลงโมเต็ทได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวเสียงเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 3 แนวเสียง คีตลักษณ์ของบทเพลงมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ผู้ขับร้องต้องใช้ทักษะการขับร้องมากขึ้น  และในที่สุดก็มีดนตรีบรรเลงประกอบเหมือนกับเพลงแมส



2.4ออราทอริโอ (Oratorio) เป็นเพลงสวดที่นำเนื้อร้องมาจากคัมภีร์ เป็นเพลงขนาดใหญ่เรื่องเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ มีทั้งร้องเดี่ยว ร้องหมู่ และมีวงดนตรีวงใหญ่บรรเลงประกอบ มีวิธีการร้องคล้ายๆกับอุปรากร(Opera) แตกต่างกันที่ผู้ร้องไม่ต้องแต่งกายตามบทบาท ไม่มีฉากประกอบ จัดให้ยืนร้องอย่างเป็นระเบียบบนเวที  บางครั้งมีผู้เรียกออราทอริโอ ว่า "Sacred Opera"

Handel -〈Messiah〉oratorio, HWV 56





2.5คันตาต้า (Cantata ) คือ เพลงร้องประกอบเรื่องราวต่างๆ อาจจะเกี่ยวกับศาสนา หรือเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปก็ได้ มีทั้งร้องเดี่ยว และร้องหมู่ประสานเสียง มีวงดนตรีบรรเลงคลอประกอบ









1 ความคิดเห็น: